ชื่อไทย : เอื้องม่อนไข่ใบมน
ชื่อท้องถิ่น : กับแกะ(เลย) / มอนไข่ใบมน(เหนือ) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium thyrsiflorum Rchb. f.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
กล้วยไม้อิงอาศัย ต้นสีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมน้ำตาลลำลูกกล้วยเป็นแท่งกลม ยาว 25 – 50 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 – 1.8 ซม. ผิวมันเล็กน้อย เป็นสันและร่องตื้นๆ
ใบ :
เกิดใกล้ยอด มี 3 – 5 ใบ รูปรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-10 ซม. ปลายแหลมมนหรือปลายมน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียวคล้ายหนัง สีเขียวเข้ม ผิวมัน มักทิ้งใบเมื่อผลิดอก
ดอก :
ช่อดอกเกิดใกล้ยอดเป็นพวงใหญ่ ห้อยลง ยาว 20-25 ซม. ดอกในช่อค่อนข้างแน่น ก้านดอกยาว 4 – 5 ซม. บานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากสีเหลืองมีขนนุ่ม ขอบกลีบหยักละเอียด มีกลิ่นหอม ดอกบานเกือบพร้อมกันทั้งช่อ และทนประมาณ 1 สัปดาห์
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ อินเดีย จีน พม่า ลาว และเวียดนาม

การใช้งานด้านภูมิทัศน์

การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :
แหล่งอ้างอิง : [1] องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2551. กล้วยไม้ไทย 1. Thai Native Orchids 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. [2] อบฉันท์ ไทยทอง. 2552. กล้วยไม้เมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 16. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ชื่อมอนไข่หรือม่อนไข่ มาจากคำชาวเหนือ ซึ่งแปลว่า ไข่แดงที่ต้มสุกแล้ว ซึ่งคงจะคล้ายลักษณะดอกที่มีกลีบขาวและกลีบปากกลมเหลือง
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554